โหมดการถ่ายภาพ




โหมดถ่ายภาพ P                

หมด P หรือโหมด Program เป็นโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติคล้ายกับโหมด Auto แต่เราสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ทุกค่าได้ ยกเว้นค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่กล้องจะปรับให้ ส่วนค่าพารามิเตอร์อื่นๆ อย่าง ISO, แฟลซ, ชดเชยแสง, WB (สมดุลแสงขาวหรือไวท์บาลานซ์), รูปแบบการโฟกัสและการวัดแสง ค่าเหล่านี้เราสามารถเลือกปรับค่าได้ตามใจ สรุปว่าโหมด P เหมาะสำหรับทุกสถานการณ์



  • แสงมาก > ความเร็วชัตเตอร์สูง > ถ่ายง่าย
  • แสงน้อย > ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง เพื่อรอเวลารับแสงอย่างเพียงพอ > มือต้องนิ่ง แบบต้องนิ่ง ถ้าช้ากว่า 1/30 วินาที ต้องนิ่งจริงๆ ถึงจะได้ภาพคมชัด
  • รูรับแสง (ค่า f) ของเลนส์กว้าง (เช่น f2.8) > รับแสงได้มาก > ได้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น > ภาพชัดตื้น (ระยะโฟกัสตื้น)
  • รูรับแสงของเลนส์เปิดแคบ (เช่น f8) > รับแสงน้อยลง > ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง > ภาพชัดลึก (ระยะโฟกัสคุมได้ลึกขึ้น)
  • ISO หรือความไวแสงสูงขึ้น เช่น ISO200, ISO400 จะรับแสงได้มากขึ้น รวมไปถึงแสงที่เราไม่ต้องการ (Noise) ทำให้ภาพมีเม็ดเกร็นสูงขึ้น
  • ISO ค่าน้อย ความไวแสงน้อยลง รับแสงได้น้อยลง ความเร็วชัตเตอร์น้อยลง แต่การรับแสงจะแม่นยำ และลดการเกิด Noise หรือเม็ดเกร็น ภาพจะชัดขึ้น
สรุปว่าโหมด P เหมาะกับการถ่ายภาพทุกสถานการณ์ แต่มีข้อแม้ว่าคุณต้องคอยควบคุมค่าพารามิเตอร์อื่นๆ ให้ดี เช่น ถ้าถ่ายออกมาแล้วมืดเกินไป (เพราะถ่ายย้อนแสง) ก็ให้แก้ไขด้วยการปรับชดเชยแสงเป็นบวก Ev + แล้วลองถ่ายใหม่ จนกว่าจะได้ภาพที่พอใจครับ ในทางตรงข้าม ถ้าภาพที่ได้สว่างเกินไป (อาจเกิดจากระบบวัดแสงเป็นแบบเฉพาะจุด และไปวัดที่พื้นทึบ หรือมืด กล้องจะเข้าใจว่าแสงน้อย กล้องจะปรับค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ให้สว่างขึ้น กลายเป็นสว่างเกินไป) กรณีนี้ก็ให้ปรับชดเชยแสงเป็นลบ หรือ Ev - จากนั้นลองถ่ายจนได้ค่าที่พอใจ

  โหมด A หรือ Av   


ดุ๊กดิ๊ก-ดุ๊กดิ๊ก เป็นโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติที่ให้ผู้ใช้งานปรับเลือกค่ารูรับแสง (A หรือ Aperture) ด้วยตัวเอง ส่วน
     พารามิเตอร์อื่นๆ กล้องจะเลือกให้อัตโนมัติ
ดุ๊กดิ๊ก-ดุ๊กดิ๊ก เหมาะสำหรับกรณีที่เราต้องการควบคุมระยะชัดลึกของภาพ

การใช้งานโหมด A
  • ระยะชัดตื้น > เปิดรูรับแสงกว้าง เช่น f2.8, f4 ตัวเลขยิ่งน้อย ยิ่งกว้าง เหมาะสำหรับถ่ายภาพบุคคล ภาพที่ต้องการเบลอฉากหลัง
  • ระยะชัดลึก > เปิดรูรับแสงแคบ เช่น f8, f16 ตัวเลข f ยิ่งสูง ยิ่งแคบ เหมาะสำหรับถ่ายภาพที่ต้องการความคมชัดทั้งภาพ เช่นภาพวิว ภาพบุคคลที่ต้องการอัดขยายขนาดใหญ่ งาน Copy ที่ต้องการลายละเอียดของแบบคมชัดตลอดทั้งภาพ แม้แต่ภาพมาโคร แมลง ผีเสื้อ ก็ควรถ่ายแบบชัดลึก เพื่อให้ได้รายละเอียดครบถ้วน
  • ระยะชัดตื้น > จะควบคุมได้ง่ายในการถ่ายภาพแบบ "เทเลโฟโต้" ตัวแบบอยู่ห่างจากฉากหลังมาก ก็ยิ่งเบลอฉากหลังได้มาก
  • ระยะชัดลึก > ยิ่งเปิดรูรับแสงแคบ ปริมาณแสงน้อย ความเร็วชัตเตอร์ก็จะช้าลงตามไปด้วย (เพื่อให้ได้ภาพที่สว่างพอดี)
  • การถ่ายภาพวิว > ใช้โหมด A เปิดรูรับแสงแคบๆ เช่น f8 เปิดโหมดโฟกัสแบบพื้นที่ (โฟกัสหลายจุด) กล้องจะปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เราอัตโนมัติ ถ้าความเร็วชัตเตอร์น้อยกว่า 1/30 วินาที ให้ใช้ขาตั้งกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ เพื่อป้องกันภาพเบลอ ภาพไหว
  • การถ่ายภาพบุคคล > เปิดโหมด A ถ่ายแบบเทเลโฟโต้ ช่วง 85mm ถึง 200mm ดึงแบบห่างจากฉากหลังพอประมาณ เปิดรูรับแสง f2.8-f4.5 เพื่อถ่ายภาพชัดตื้น ละลายฉากหลัง
โหมดถ่ายภาพ S

ดุ๊กดิ๊ก-ดุ๊กดิ๊ก ถ้าแสงดี (เช่นแสงแดดช่วง 8 โมงเช้า) คุณจะสามารถถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงได้ เช่น
     1/200 วินาที
ดุ๊กดิ๊ก-ดุ๊กดิ๊ก ในทางตรงข้าม ถ้าอยู่ในร่ม หรืออยู่ในอาคาร สภาพแสงมีปริมาณน้อย การที่จะถ่ายภาพให้สว่างพอดี
     จะต้องรอรับแสงนานขึ้น กล่าวคือจะต้องถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง เช่น 1/20 วินาที

ดุ๊กดิ๊ก-ดุ๊กดิ๊ก ความเร็วชัตเตอร์สูง

  • ถ่ายภาพง่ายขึ้น เพราะความเร็วชัตเตอร์สูงกล้องจับภาพก่อนที่การสั่นจากการกดชัตเตอร์จะเกิดขึ้น ลดโอกาสภาพไหว ทำให้ภาพชัดขึ้น
  • ถ้าความเร็วชัตเตอร์สูงพอ วัตถุที่เคลื่อนไหวจะดูเหมือนถูกหยุดเวลา เช่น นกนางนวลที่บางปู ถูกถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาที ทำให้ได้ภาพนกบินอย่างชัดเจน
  • ความเร็วชัตเตอร์สูง ใช้ได้ในสภาพแสงที่เพียงพอ ถ้าแสงน้อย หากใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ภาพก็จะมืด
ดุ๊กดิ๊ก-ดุ๊กดิ๊ก ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ
  • หากต่ำกว่า 1/30 วินาที ภาพจะเบลอ
  • ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสร้างภาพสายน้ำให้นุ่มนวลได้ เช่นภาพน้ำตก สายน้ำไหล เมื่อถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เช่น 1/4 วินาที (แสงมากไป ให้เปิดรูรับแสงแคบลง เช่น f22) จะทำให้ได้ภาพสายน้ำที่นุ่มนวล เหมือนกำลังไหลเอื่อยๆ
  • ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำถ่ายภาพถนนยามค่ำคืน จะได้ภาพแสงเป็นเส้นๆ ที่เกิดจากรถวิ่ง (ใช้ขาตั้งกล้อง)
  • ถ่ายภาพระเบิดซูม (ขณะกดชัตเตอร์ ใช้มือหมุนซูม) ที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะได้ effect ระเบิดซูมมากกว่าความเร็วชัตเตอร์สูง


dsc02993ถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ 1/30 วินาที แดดค่อนข้างแรง และรูรับแสง f16 แคบที่สุดแล้ว
dsc03006เปิดความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น 1/250 วินาที ปริมาณแสงมากพอ จึงได้ภาพไม่มืดหรือสว่างไป
   โหมดถ่ายภาพเคลื่อนไหว (รูปคนกำลังวิ่ง)   
จะเน้นนำหนักไปที่เรื่องของความไวชัตเตอร์เพื่อให้เหมาะกับ การจับภาพเคลื่อนไหวให้อยู่นิ่ง

โหมดถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ เหมาะสมกับการถ่ายภาพวิวโดนการถ่ายภาพวิวนั้น มักจะเน้นไปที่เรื่องของความชัดลึกของภาพ

  ดุ๊กดิ๊ก-ดุ๊กดิ๊ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น