ตัดเศษด้วยฟังก์ชัน TRUNC กับ INT


ข้อแตกต่างของ TRUNCกับ INT
  1. ฟังก์ชัน TRUNC จะลบจำนวน ที่เป็นเศษส่วนออกและถ้าใช้ค่าที่เป็นลบ เช่น TRUNC (-2.5) ฟังก์ชัน จะส่งกลับค่า -2
  2. ฟังก์ชัน INT จะปัดเศษขึ้น เป็นจำนวนเต็มที่ใกล้ที่สุด โดยยึดค่าของเศษส่วน เป็นหลัก เมื่อมีการใช้ตัวเลขลบ เช่น INT( -2.5) จะส่งกลับค่า -3 เพราะเป็นตัวเลข ที่น้อยกว่า
  3. ฟังก์ชัน TRUNC กำหนดจำนวนทศนิยมได้ ในขณะที่ ฟังก์ชัน INT ทำไม่ได้
ไวยากรณ์ฟังก์ชัน TRUNC

=TRUNC (number,num_digits)

  • number   คือตัวเลขที่คุณต้องการตัดเศษทิ้ง
  • num_digits   คือจำนวนที่ใช้ระบุความแม่นยำของการตัดเศษ ซึ่งมีค่าเริ่มต้นคือ 0 (ศูนย์)

ไวยากรณ์ฟังก์ชัน INT

=INT (number)

  • number คือจำนวนจริงที่คุณต้องการปัดเศษเพื่อให้เหลือเป็นจำนวนเต็ม

ตารางตัวอย่าง
Row Column

A
B
C
D
E
1 ข้อมูล
1.2
4.8
-5.3
-8.8
2 แทนค่า INT
=INT(B1)
=INT(B1+C1)
=INT(D1/B1)
=INT(E1)
3 ผลลัพท์ INT
1
6
-5
-9
4 แทนค่า TRUNC
=TRUNC(B1-C1)
=TRUNC(C1,2)
=TRUNC(D1-C1)
=TRUNC(E1*B1)
5 ผลลัพท์ TRUNC
-3
4.80
-10
-7

อธิบายการใช้ฟังก์ชัน INT กับ ฟังก์ชัน TRUNC จากตารางข้างบน
  1. เมื่อตัวเลขเป็นด้านบวก ทั้งสองฟังก์ชันจะตัดเศษออก และให้ผลลัพท์เหมือนกัน
  2. ถ้าตัวเลขเป็นด้านลบ ทั้งสองฟังก์ชันจะแสดงผลที่ต่างกัน INT ปัดเศษ แต่ TRUNC ตัดเศษ
  3. B1+C1 = 6 เมื่อผลลัพท์เป็นจำนวนเต็มก็ไม่มีการตัดเศษ ซึ่งทั้งสองฟังก์ชันจะให้ผลลัพท์เท่ากัน
  4. INT(E1) = -9 เพราะ E1 = 8.8, ฟังก์ชัน INT ปัดเศษเป็น -8 แต่ถ้าเป็น TRUNC(E1) จะได้ผลลัพท์เป็น -9
  5. D1/B1 = -4.41666666666667 ฟังก์ชัน INT ปัดเศษเป็นเลขจำนวนเต็มที่ใกล้ที่สุด คือ -5
  6. B1-C1 = -3.6 ฟังก์ชัน TRUNC ตัดเศษ ให้เหลือเลขจำนวนเต็ม คือ -3
  7. D1-C1 = -10.1 ฟังก์ชัน TRUNC ตัดเศษ ให้เหลือเลขจำนวนเต็ม คือ -10
  8. TRUNC(C1,2) = 4.80 กำหนดทศนิยม 2 ตำแหน่งให้กับฟังก์ชัน TRUNC ถ้าไม่กำหนดผลลัพท์จะได้ 4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น