เทคนิคการถ่ายภาพเวลาจุดเทียน

เทคนิคการถ่ายภาพเวลาจุดเทียน

* WB เป็นทังสเตน ภาพจะไม่เหลืองมาก

* จะใช้ flash หรือไม่ใช้ก็ไม่ผิด เพราะได้แสงออกมาไม่เหมือนกัน ใช้ Flash ก็ใช่ว่าจะได้ภาพไม่สวยเสมอไป ถ้าเรารู้จักการ fill ที่ดี ก็ได้ภาพที่สวยได้ หากไม่ใช้ flash โทนภาพก็จะขึ้นอยู่กับสภาพแสงโดยรอบ

* แสงหลักมาจากแสงเทียน เสริมด้วยฟิลแฟลช(SB-600)เล็กน้อย ดึงแผ่นกระจายแสงลงมา ให้แสงนุ่มและภาพกระจ่างขึ้นอีกสักนิด+ความไวชัตเตอร์ต่ำ เพื่อเก็บแสงบรรยากาศ + ISO 400 เพื่อจะคุมสปีดชัตเตอร์ได้พออยู่มือ + ดึง curves ใน PS อีกเล็กน้อยตามชอบ 

* ISO 400 รูรับแสง 2.8

* ตั้งโหมด..กลางคืน..ในกล้องแต่ละรุ่นก็จะเซ็ทใว้ให้เรียบร้อบ แต่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง

* ตั้งโหมดออโต้   วัดแสงที่เปลวเทียน แต่ความเร็วชัตเตอร์จะต่ำมาก..ต้องใช้ขาตั้งกล้อง

***ตั้งโหมดชัตเตอร์  คือสามารถควบคุม แสงและความชัดลึกของภาพได้ เมื่อกดแล้วม่าน ชัตเตอร์ทำงาน หากเอานิ้วที่กดชัตเตอร์ออกม่านชัตเตอร์ก็จะปิด โหมดนี้จะสามารถควบคุมเวลาการปิดของชัตเตอร์ได้เอง..ต่อไปตั้งค่ารูรับ แสง.(F).ให้แคบๆ เพื่อให้ภาพมีความชัดลึก..ทดลองดูเองก็ได้ เวลาที่ไม่มีแสง แล้วจุดเทียนดู กดชัตเตอร์ค้างใว้ประมาณ 2-3 วินาที..ดูภาพที่ได้ หากมีแสงมากไปก็ลดเวลาลง แต่หากมีแสงน้อยไปก็เพิ่มเวลาขึ้น....

 

10 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 00:01

    โหมดถ่ายภาพ P (Program)
    -----------------------------
    โหมด P หรือโหมด Program เป็นโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติคล้ายกับโหมด Auto แต่เราสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ทุกค่าได้ ยกเว้นค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่กล้องจะปรับให้ การถ่ายภาพด้วยโหมดนี้สามารถคาดหวังความคมชัดได้

    ถ้าถ่ายออกมาแล้วมืดเกินไป (เพราะถ่ายย้อนแสง) ก็ให้แก้ไขด้วยการปรับชดเชยแสงเป็นบวก Ev + แล้วลองถ่ายใหม่ จนกว่าจะได้ภาพที่พอใจครับกรณีนี้ก็ให้ปรับชดเชยแสงเป็นลบ หรือ Ev - จากนั้นลองถ่ายจนได้ค่าที่พอใจ

    หลักการง่ายๆ เกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์ในการถ่ายภาพ

    แสงมาก > ความเร็วชัตเตอร์สูง > ถ่ายง่าย
    แสงน้อย > ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง เพื่อรอเวลารับแสงอย่างเพียงพอ > มือต้องนิ่ง แบบต้องนิ่ง ถ้าช้ากว่า 1/30 วินาที ต้องนิ่งจริงๆ ถึงจะได้ภาพคมชัด
    รูรับแสง (ค่า f) ของเลนส์กว้าง (เช่น f2.8) > รับแสงได้มาก > ได้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น > ภาพชัดตื้น (ระยะโฟกัสตื้น)
    รูรับแสงของเลนส์เปิดแคบ (เช่น f8) > รับแสงน้อยลง > ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง > ภาพชัดลึก (ระยะโฟกัสคุมได้ลึกขึ้น)
    ISO หรือความไวแสงสูงขึ้น เช่น ISO200, ISO400 จะรับแสงได้มากขึ้น รวมไปถึงแสงที่เราไม่ต้องการ (Noise) ทำให้ภาพมีเม็ดเกร็นสูงขึ้น
    ISO ค่าน้อย ความไวแสงน้อยลง รับแสงได้น้อยลง ความเร็วชัตเตอร์น้อยลง แต่การรับแสงจะแม่นยำ และลดการเกิด Noise หรือเม็ดเกร็น ภาพจะชัดขึ้น

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 00:09

    โหมด A หรือ Av
    -----------------
    * เหมาะสำหรับกรณีที่เราต้องการควบคุมระยะชัดลึกของภาพ ตัวแบบอยู่ห่างจากฉากหลังมาก ก็ยิ่งเบลอฉากหลังได้มาก
    * ตัวเลขยิ่งน้อย เหมาะสำหรับถ่ายภาพบุคคล ภาพที่ต้องการเบลอฉากหลัง
    * ตัวเลข f ยิ่งสูง ยิ่งแคบ เหมาะสำหรับถ่ายภาพที่ต้องการความคมชัดทั้งภาพ ความเร็วชัตเตอร์ก็จะช้าลงตามไปด้วย (เพื่อให้ได้ภาพที่สว่างพอดี)
    * ก่อนการถ่ายภาพทุกครั้ง ถ้าความเร็วชัตเตอร์น้อยไป ให้แก้ไขโดยการปรับ ISO เพิ่มขึ้น (แต่ไม่ควรเกิน ISO400 เพื่อไม่ให้เกิดน๊อยส์หรือเกรน
    * ภาพถ่ายบุคคล นิยมถ่ายคร็อบครึ่งตัว เปิดรูรับแสง f3.2 ภาพที่เน้นแบบ เบลอฉากหลังสวย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 00:37

      * ถ่ายภาพบุคคล แล้วฉากหลังเบลอ เราก็ใช้ค่ารูรับแสงกว้างๆ (f/8 ลงมา)
      * โหมดนี้ยังมีประโยชน์ในการถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย เราสามารถกำหนดรูรับแสงให้กว้างเข้าไว้ เพราะผลที่ได้คือความเร็วชัตเตอร์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เราสามารถหยุดการเคลื่อนไหวต่างๆ ไม่ว่าจะจากการเคลื่อนไหวของแบบ หรือการเคลื่อนไหวของตัวกล้องหากเราไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง ทำให้เรายังสามารถได้ภาพที่คมชัดอยู่นั่นเอง

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 00:33

    -------------------
    โหมดถ่ายภาพ S
    -------------------
    >> สามารถหยุดการเคลื่อนไหวของแบบในภาพได้ทุกสภาพแสง ค่ารูรับแสงกล้องจะปรับให้เราโดยอัตโนมัติ
    >>

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 00:46

    -------------------------------
    ถ่ายภาพให้น้ำตกดูนุ่มนวล
    ------------------------------
    ใช้โหมด A หรือ Av ปรับตั้งกล้องของเราไปที่ค่า F ที่สูงที่สุดในกล้องที่มี
    ให้ปรับปุ่มชดเชยแสง ไปที่ -2.0 ev เพื่อลดแสงให้มืดลงไปอีก เนื่องจากตัวน้ำตกเป็นสีขาว หลอกตาของกล้อง

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 00:57

    -------------------------------
    ถ่ายบุคคลแบบย้อนแสง
    ------------------------------
    โดยใช้ Mode Beach ให้หน้าใส ไม่หน้ามืด

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 00:58

    ---------------------------
    สรุปการปรับค่าในโหมด M เพื่อใช้ถ่ายแบบดีไซน์ภาพ (ชัดตื้นชัดลึก)
    --------------------------
    1. Set ISO ที่ 100 เพื่อเริ่มต้นการเซ็ตค่า
    2. กำหนดค่า F รูรับแสงที่ต้องการ (ปรับ F เป็นหลัก)
    3. กดปุ่ม AE Lock ดู Scale วัดแสง
    4. ปรับ Speed Shutter ให้ Scale เป็น 0 หรือใกล้เคียงที่สุด
    5. ถ้าได้ Speed ช้าไป ถือไม่ได้ให้ปรับง่ายๆ คือเล่นช่วงไหนให้ปรับค่านั้น เช่นเล่น 50mm ก็ให้ปรับที่ 1/50
    6. ถ้าค่า Scale ยังไม่เป็น 0 ให้ปรับที่ ISO ช่วยให้ค่าใกล้เคียง 0 ที่สุด

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 02:45

    ------------------------------
    ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย
    ------------------------------
    >> ใช่ความไวชัตเตอร์ที่ต่ำ อยู่ระหว่าง 1/10 - 1/4 ในส่วนของรูรับแสงประมาณ F4 - F5 ค่า ISO เริ่มต้นตั้งแต่ 800 ขึ้นไป
    >> ในการถ่ายภาพในแสงที่มืดนั้น หากเราไม่มีขาตั้ง ใช้ค่าความไวชัตเตอร์อยู่ระหว่างที่ 1/20 - 1/40 โดยเลือกค่ารูรับแสงอยู่ที่ F4 และเลือกค่า ISO อยู่ที่ 800 - 1600 ขึ้นอยู่กับสภาพแสงในขณะนั้น

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 03:37

      ถ่ายภาพแสงน้อยตอนกลางคืน
      -------------------------------
      คุณตั้งกล้องไว้ที่โหมดแมนวล และใช้ช่องรับแสงกว้างประมาณ f/5.6 ที่ค่า ISO 800 สัก 30 วินาที และถ่ายด้วยไฟล์ RAW
      ปรับแก้ไวท์บาลานซ์ Tungsten หรือจะสร้าง Custom White Balance ที่ค่าราว 3200k

      ลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 03:33

    ---------------------------------
    เทคนิคสำหรับถ่ายภาพสถาปัตยกรรม
    ----------------------------------
    1 ควรมีเลนส์ WIDE คือเลนส์ที่ให้ภาพมุมกว้าง
    2 ควรใช้ขาตั้งกล้อง
    3 ใช้ ISO ต่ำสุด จะทำให้คุณได้ภาพที่สีสด คมชัด ไม่มีเกรนหรือ Noise รบกวน
    4 ใช้รูรับแสงแคบๆ (ค่าตัวเลขมาก เช่น F18, F22) จะยิ่งให้ภาพที่ชัดลึก เหมาะกับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม เพราะจะเห็นอาคารหรือห้องชัดตลอดทั้งภาพ

    ตอบลบ