ค่าเทากลาง White Balance

ค่าเทากลาง กับ White Balance



white balance
         White Balance คือ “สมดุลย์แสงขาว”  อุณหภูมิของแสงแดดตามปรกติ จะอยู่ที่ประมาณ 5,500 เคลวิน ตั้งค่า White Balance ได้ถูกต้อง ก็จะเป็นสีขาว ไม่อมฟ้า หรืออมส้ม เมื่อเราไปถ่ายภาพงานเลี้ยง หรืองานแต่งงานในห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม ซึ่งแสงโดยส่วนใหญ่จะเป็นแสงไฟสีส้มๆ เวลาเราถ่ายรูป รูปที่ได้ก็จะออกโทนส้มๆไปหมด ซึ่งรูปแบบนี้นั้นเราเห็นกันจนชินตา เพราะคนส่วนใหญ่ก็ถ่ายภาพออกมาได้แนวนี้ แต่หากคุณเป็นช่างภาพที่ต้องการนำเสนอสีสันที่ถูกต้องแล้วล่ะก็ คุณก็จะต้องตั้งค่า White Balance ให้ถูกต้อง ชุดเจ้าสาวสีขาวก็จะไม่เป็นสีส้มอ่อนๆแบบภาพของคนอื่นๆ  

Daylight
สัญลักษณ์จะเป็นรูปดวงอาทิตย์ White Balance แบบนี้จะใช้ในตอนที่เราถ่ายภาพกลางแจ้ง แดดเปรี้ยงๆ เมฆไม่มาก ถ้าแสงเป็นแบบนี้คงที่ก็ใช้เลยครับ
Shade
สัญลักษณ์รูปบ้าน มีแสงส่องที่ชายคา White Balance แบบนี้ถ้าดูภาพออกคุณก็จะรู้ทันทีว่าเอาไว้ใช้เวลาที่ถ่ายภาพในร่มนั่นเองครับ
Cloudy
สัญลักษณ์รูปก้อนเมฆ White Balance ใช้เวลาที่เราถ่ายภาพกลางแจ้ง แต่ในสภาพที่ฟ้าครึ้ม เต็มไปด้วยเมฆ
Tungsten
สัญลักษณ์รูปหลอดไฟแบบมีไส้ White Balance แบบนี้ก็หมายความตรงตัวเลย ถ้าคุณไปเจอสภาพแสงที่มาจากหลอดไส้แล้วล่ะก็ ใช้เจ้าตัวนี้เลย
Fluorescent
สัญลักษณ์รูปหลอดไฟนีออน White Balance แบบนี้ก็เช่นกัน ถ้าแสงมาจากหลอดไฟนีออนก็ใช้แบบนี้
Flash
สัญลักษณ์รูปฟ้าผ่า White Balance แบบนี้ไม่ได้ใช้ถ่ายรูปฟ้าผ่านะครับ แต่เอาไว้ใช้ตอนที่เราถ่ายรูปโดยใช้แฟลชครับ แต่จากข้อสังเกตของผมคือ White Balance แบบนี้ผลที่ได้มักจะใกล้เคียงกับแบบ Daylight เพราะว่าแฟลชในปัจจุบันมักจะให้อุณหภูมิของแสงใกล้เคียงกับ Daylight นั่นเองครับ
Custom White Balance
White Balance แบบนี้ใช้ในกรณีที่เราต้องการกำหนดค่าเอง โดยใช้กระดาษเทากลางมา เป็นตัวกำหนด ซึ่งผมลองแล้วพบว่ามีประโยชน์มาก เพราะส่วนใหญ่ White Balance ที่กล้องเซตมาให้นั้นเป็นค่ากลางๆ บางครั้งก็ไม่ถูกต้องหรือถูกใจเราเท่าไหร่นัก แต่หากเราถ่ายภาพในสภาพแสงที่คงที่ เช่น ในห้อง 

เราก็สามารถกำหนดค่า White Balance ใช้เอง โดยถ่ายภาพกระดาษเทากลาง (ถ่ายเต็มเฟรม ให้มีแต่สีเทาในภาพ) แล้วให้กล้องใช้ภาพนั้นเป็น White Balance คราวนี้คุณสามารถถ่ายรูปเป็นร้อยเป็นพันรูปในห้องนั้นโดยไม่ต้องสนใจค่า White Balance อีกเลย เพราะทุกรูปจะมีค่าเหมือนกันหมด

แบบวัดเฉลี่ยรวมทั้งภาพ : กล้องจะมองไปที่สี่เหลี่ยมที่เรายกมันส่องไป  อะไรอยู่ในสี่เหลี่ยมบ้าง กล้อง ก็จะแปลงเป็นขาวดำ แล้วเอาทุกสีเฉลี่ยกลับคืนไป ที่เทากลาง 18% ที่ๆ มืดเกินพอดี ก็จะกลับมาสว่าง ที่สว่างก็จะมืดลง มาจนพอดี

แบบเฉลี่ยหนักกลาง : กล้องจะวัดแค่เป็นวงๆ รอบจุดที่เราจะโฟกัส เป็นวงใหญ่พอประมาณ แบบนี้ดีครับ เหมาะที่จะเอาไป "ส่อง" วัดแสงที่ "หน้า" นางแบบของเรากล้องวัดแสงเป็นวงกลมๆ แล้วเอาค่าเฉลี่ยในวงกลม กลับมาคืนให้เรา ทำให้บน " หน้า" ของนางแบบ แสงพอดี 

แบบจุด : กล้องจะ วัดเป็นจุดเล็กๆ รอบๆ โฟกัสตรงกลาง T_Tเล็กแบบที่ว่า วัดไปที่คิ้วนางแบบสีดำ กล้องก็จะปรับทั้งรูปให้ขาวโพลนเพื่อให้ได้คิ้วสีเทากลาง 

ใช้วิธีการดูจากจอ LCD หลังกล้องแล้วพิจารณาจากสีที่เป็นกลาง สีผิว หรือสีโดยรวมของภาพว่าออกไปทางโทนใด
ซึ่งจอ LCD ก็ต้องแม่นยำมากพอด้วย มิเช่นนั้นจะสีจะผิดเพี้ยนไปได้อีกมากทีเดียว
 

การใช้งาน Custom White Balance มีขั้นตอนที่แตกต่างออกไปตามรุ่นกล้องที่ใช้  แต่ส่วนใหญ่จะมีหลักการใกล้ๆ กันดังนี้
   1. เตรียมกระดาษสีขาวหรือสีเทา ที่เป็นสีกลางจริงๆ  ไม่ออกเหลือง น้ำเงิน หรือสีใดๆ อาจจะใช้กระดาษสีเทา 18% ที่เป็นสีมาตรฐานเช่นของ Gretag Macbeth หรือไม่ก็กระดาษซีรอกซ์ กระดาษโปสเตอร์ ฯลฯ ซึ่งต้องมั่นใจว่าเป็นสีกลางจริงๆ ไม่ออกสีใดสีหนึ่ง ผิวด้านห้ามใช้ผิวมันโดยเด็ดขาด
   2. วางกระดาษเอาไว้หน้าวัตถุที่จะถ่ายภาพหันเข้าหากล้องโดยให้ระนาบของกระดาษขนานกับระนาบของวัตถุที่จะถ่ายภาพให้มากที่สุด
   3. ตั้งระบบ Custom White Balance ที่กล้อง สั่งเซ็ทค่า (ดูตามคู่มือการใช้)
   4. เมื่อสั่งเซ็ทค่ากล้องจะให้ถ่ายภาพกระดาษสีขาวหรือเทาที่เตรียมไว้  ให้วัดแสงพอดี หรือโอเวอร์อันเดอร์ไม่เกิน 2 stop แล้วกดชัตเตอร์ลงไป
   5. กล้องจะทำการถ่ายภาพแล้วปรับสีเป็นค่าใช้งานของ Custom White Balance นั้น
   กล้องบางรุ่นอาจจะให้ถ่ายภาพกระดาษขาวเก็บเอาไว้แล้วเรียกภาพนั้นมาปรับสีเพื่อตั้งค่า White Balance อีกทีหนึ่งก็ได้
ค่าที่เซ็ทจะได้ใช้กับแสงในขณะนั้นหรือแสงที่ตรงกับขณะนั้น  สีของภาพที่ได้จะแม่นยำมากๆ  หากต้องการให้สีออกเฉดใดเป็นพิเศษสามารถปรับได้ที่ค่า HUE ในกล้องได้อีก



าาส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น