เทคนิคการถ่ายภาพงานแสดงแสงสีเสียง

เทคนิคการถ่ายภาพงานแสดงแสงสีเสียง

1. การถ่ายจะต้องวัแสงก่อนเสมอ แต่สำหรับการถ่ายภาพแสง สี เสียง นั้นการวัดแสงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะไฟแต่ละดวงเปิดปิดสลับกันไปมาและยังมีไฟหลากหลายสีอีกต่างหาก การวัดแสงให้พอดีเป็นเรื่องยากเพราะฉนั้น ควรวัดแสงแบบคร่าวๆ แล้วก็เปิดรับแสงเผื่อเอาไว้  
2. การถ่ายควรตั้ง iso ต่ำๆ 
3. รูรับแสงแคบๆ speed ต่ำ อาจใช้เทคนิคกระกาษดำช่วยก็ได้ 
4. การถ่าย อาจต้องเข้าชมงานสักครั้งก่อนเพื่อจับจังหวะของการแสดงจะได้ช่วงเวลาที่ดี และสวยในการถ่าย(ต้องซ้อมกันหน่อย)  
5. หากการแสดงนั้นมีผู้แสดงร่วมด้วย ก็ยากนักที่จะจับภาพให้หยุดนิ่งได้ ควรตั้งความไวแสงให้มาก(iso) จะได้ตั้ง speed ได้เร็ว รูรับแสงกว้างๆเข้าไว้ การโฟกัส ควรใช้แบบแมนนวล เพราะสภาพแสงน้อย AF จะทำงานได้ไม่ดีนัก
** ปกติแล้วการถ่ายภาพตอนกลางคืน โดยเฉพาะงานแสดงสีเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้แฟลชครับ เพราะว่าแสงแฟลชจากกล้องมันมันมีระยะทางจำกัด คือมันจะช่วยให้วัตถุที่อยู่ในช่องมองภาพสว่างได้ในระยะไม่เกิน 5 เมตรเท่านั้นเอง ดังนั้นงานแสดงสีเสียงที่อยู่ไกล ๆ ออกไป ถ่ายไงก็ไม่สว่างครับ

การถ่ายภาพการแสดงดนตรีร็อค
แสงหมอกที่เกิดจากการแสดงเทคนิคแสงสีเสียงบนเวที
1. ตั้งค่ากล้องไว้ที่โหมดการปรับตั้งค่ารูรับแสงด้วยตนเอง  f/2.8
2. ISO autoสูงสุดของกล้อง
3. ระบบการวัดแสงแบบเฉพาะจุด(Spot Metering)และเลือกสีแบบโทนสีเนื้อ/สีผิว
4. ตั้งค่าโฟกัสแบบต่อเนื่อง(Continuous)เพื่อที่ผมจะได้ติดตามจับภาพความเคลื่อนไหวของนักแสดงได้อย่างต่อเนื่อง
เลือกโหมดการถ่ายภาพที่ถนัดที่สุด
เพื่อนบางคนใช้โหมด A แล้วชดเชย - 2 หรือ -3
บางคนใช้โหมด M แล้วปรับค่าตลอดเวลา 
ตั้งไว้ที่ประมาณ 1/200 หรือ 1/250 + f2.8 +  iso 1600 เป็นหลักที่เหลือก็ตามสภาพงานว่าแสงเยอะมั้ย, แบบเคลื่อนไหวเร็วมั้ย แล้วพิจารณาเพิ่มลด iso, สปีดชัตเตอร์ตามอีกทีหนึ่ง 
บางคนใช้โหมด S ยืนพื้นสปีดไว้ที่ 1/160 แล้วชดเชย - 2 - 3

 
----------------------------------------------------------------
ถ่ายภาพคนยืนหน้าซุ้มแต่งงาน งานรับปริญญา ยืนแอ๊คให้ถ่าย ถ่ายพริตตี้ อะไรทำนองนี้ 1/60 - 1/80 ได้รูปคมชัดแน่

ถ่ายภาพคนเดิน โฟกัสล่วงหน้านิดนึงแล้ว /125 - 1/200 น่าจะพอไหว

ถ่ายภาพกีฬา ถ่ายภาพการแสดง ใช้ระบบติดตามโฟกัส หรือโฟกัสล่วงหน้า 1/500 ขึ้นไป

ถ่ายรถแข่ง โฟกัสล่วงหน้า(เอาฉากหลังหยุด) หรือแพนกล้องตาม(เพื่อเอาฉากหลังวิ่งๆ) 1/1000 ขึ้นไป

 ---------------------------------------------------------------

การถ่ายภาพ CONCERT

ใช้โหมดออโต้ไวท์บาลานซ์ผิวคนจะออกสีส้มแดงเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละคอนเสิร์ต  ลองถ่ายในช่วงต้นคอนเสิร์ตแล้วเช็คจากจอ LCD ดูและปรับแต่งให้ได้ค่าที่ถูกใจ โดยผมแนะนำว่าถ้าใช้ค่าไวล์บาลานซ์ในช่วง 3000-4000 องศาเคลวินจะได้สีผิวคนที่ดูเป็นธรรมชาติกว่า แต่จะลดความร้อนแรงของแสงสีโทนเหลืองแดงไปพอสมควร 

อุณหภูมิสีต่ำ จะออกสีแดง อุณหภูมิสีสูง จะออกสีน้ำเงิน 

อุณหภูมิสีในที่ร่ม มีอุณหภูมิสีสูงกว่า คืออมสีฟ้า
แต่อย่าลืมว่า เราถ่ายย้อนแสง แสงในร่ม อุณหภูมิสีจะสูงกว่าแสงแดด อยู่แล้ว (สีจะอมฟ้าเล็กน้อย)

ไฟจากหลอดไส้ อุณหภูมิสี ต่ำ ภาพจะออก เหลือง ส้ม แดง ยิ่งต่ำ ยิ่งแดง ( อยู่ระหว่าง 1000-3000 องศาเคลวิน 

ส่วนท้องฟ้าในเวลาที่พระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้าไปแล้ว อุณหภูมิสี จะสูงขึ้น ท้องฟ้าที่บันทึกได้จึงมีสีฟ้า จนเป็นน้ำเงินเข้ม และดำในที่สุด 

 

 

2 ความคิดเห็น:

  1. ไฟกลางคืนจะมีหลายแบบทั้งฟลูออเรสเซ็นต์และไฟทังสเตน เวลาตั้งไวท์บาลานซ์ก็ต้องไห้ถูกต้องกับสิ่งที่เราจะถ่าย ถ้าหากถ่ายไฟที่เป็นทังสเตนสีออกส้มๆ แล้วไห้ได้อย่างตาที่เห็นก็ตั้งไวท์บาลานซ์เดย์ไลท์หรือไดเร็คซันไลท์แล้ว

    แต่รุ่นกล้อง ภาพที่ได้ก็จะมีสีส้มแดงอย่างที่มองเห็น หรือถ้าหากใช้ฟิล์มภาพที่ได้จะเป็นลักษณะแบบเดียวกันนี้ แต่ถ้าหากจะไห้สีตรงตามความจริง ก็ตั้งเป็นทังสเตนสีไฟก็จะออกมาเป็นสีขาวครับ ส่วนไฟแฉกๆก็ตั้งรูรับแสงแคบๆครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ21 เมษายน 2557 เวลา 04:48

    เราถ่ายภาพแล้วติดสีเขียวมาเยอะมากๆ เราต้องแก้สีโดยการใส่สีม่วง(สีแดงผสมน้ำเงิน)

    แสงส่วนใหญ่มาจากหลอดไฟซึ่งเป็นสีส้มอมแดง การแก้ก็คือ ปรับ WB เหลือสัก 3200-3500 K ครับ

    ตอบลบ